วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมันปลา ชนิด ไฮ-เอนด์ (hi-end) ประโยชน์ที่ไร้มลพิษจากทะเล



น้ำมันปลา ประโยชน์ที่ไร้มลพิษจากทะเล
        ประโยชน์ของกรดไขมันจำเป็นชนิดไม่อิ่มตัว โอเมก้า-3 ในน้ำมันจากปลาทะเลน้ำหนาว ซึ่งได้แก่ EPA ( eicosapentaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) ในด้านการป้องกันและบรรเทาอาการโรคต่างๆ มากมาย อาทิเช่น โรคเกี่ยวกัวหัวใจ, โรคหลอดเลือด, สโตร็ค (stroke), เบาหวาน, ข้ออักเสบ, หอบหืด, โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง เช่น SLE เรื้อนกวาง แม้กระทั่งโรคมะเร็ง เป็นเรื่องที่นักวิจัยยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรายงานผลที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
        ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังแนะนำให้ทุกคนรับประทานปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจ และลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว แต่หากได้อ่านงานการศึกษาเหล่านั้นอย่างละเอียดจะเห็นว่า การรับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 ให้เกิดประโยชน์ตามผลงานการกับโรคหลอดเลือดหัวใจ, ข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคข้ออักเสบ และอื่นๆ จะแนะนำให้รับประทาน EPA และ DHA รวมกันให้ได้วันละ 2,000–5,000 มิลลิกรัม สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้ผู้ใหญ่ที่ยังมีสุขภาพดีควรได้รับ EPA+DHA วันละ 650-1,000 มิลลิกรัม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้รับประทานวันละ 300-500 มิลลิกรัม
        การรับประทานปลาแต่ละชนิดก็ให้ปริมาณ EPA/DHA แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ปลาแซลมอนธรรมชาติ กินแพลงตอนและสาหร่ายทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิด ALA ทำให้ปลากลุ่มนี้อุดมไปด้วยกรดไขมัน EPA และ DHA ส่วนปลาแซลมอนเลี้ยงได้กินอาหารจากฟาร์มที่ทำจากถั่วเหลือง, ข้าวโพด, รำข้าว ทำให้มีไขมันที่มีโอเมก้า-6 สูง
น้ำมันปลาแคปซูลชนิด โลว์-เอนด์ (Low-End grade) และ ไฮ-เอนด์ (Hi-End grade)
        น้ำมันปลาชนิดไฮ-เอนด์ หรือบางครั้งเรียกว่า “น้ำมันปลาเกรดยา” มีปริมาณ EPA และ DHA สูงกว่าชนิดโลว์-เอนด์ การรับประทานน้ำมันปลาชนิดโลว์-เอนด์ที่ 1 แคปซูลหนัก 1,000 มิลลิกรัม จะมี EPA อยู่ 180 มิลลิกรัม และ DHA อยู่ 120 มิลลิกรัม นอกนั้นเป็นกรดไขมันหลายชนิดและคอเลสเตอรอล หากว่าต้องการรับประทานตามที่นักวิจัยแนะนำเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย เพื่อให้ได้ EPA+DHA จำนวน 1,500 มิลลิกรัม ต้องรับประทานถึง 5 แคปซูล ซึ่งอาจทำให้เรอ หรือลมหายใจมีกลิ่นคาวปลา หรืออาจทำให้ท้องร่วงเกิดขึ้น แต่การรับประทานชนิดไฮ-เอนด์นั้น ซึ่งใน 1 แคปซูลมี EPA อยู่ 330 มิลลิกรัม และมี DHA อยู่ 220 มิลลิกรัม ก็สามารถรับประทานเพียง 3 แคปซูลเกินพอ
        ความแตกต่างที่สำคัญของเกรดไฮ-เอนด์ และโลว์-เอนด์ คือ ความบริสุทธิ์ของน้ำมันปลาจากสารพิษปนเปื้อน แม้องค์การอาหารและยา (อย.) จะกำหนดมาตรฐานแสดงค่าสิ่งปนเปื้อนที่ยอมรับได้ในผลิตภัณฑ์ทุกชนิดเอาไว้แล้ว แต่มาตรฐานของโรงงานที่ผลิดน้ำมันปลาเกรดไฮ-เอนด์ สามารถมีขบวนการผลิดที่สกัดเอาสารพิษออกไปได้มากกว่า แม้จะต้องสิ้นเปลืองวัตถุดิบในการผลิตมากขึ้น (1 แคปซูลของน้ำมันปลาชนิดไฮ-เอนด์ ใช้วัตถุดิบเป็น 3 เท่าของชนิดโลว์-เอนด์ 1 แคปซูล)
โลหะหนักและสารพิษในปลาทะเล
        ในท้องทะเลอุดมไปด้วยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม, ยาฆ่าแมลงที่ไหลมาจากบนบก ปนมากับน้ำในแม่น้ำลำคลอง ในที่สุดก็จะจบลงที่ทะเล ทำให้ปลาและอาหารทะเลมีสารพิษเช่น สารปรอท, ตะกั่ว, PCBs, ไดออกซิน ปะปนอยู่ในเนื้อ ไขมัน และหนังของปลา และสัตว์ทะเล เมื่อเราบริโภคอาหารทะเลเข้าไปก็ได้รับสารพิษดังกล่าวเข้าไปด้วย
PCBs (polychlorinated biphenyls) เป็นสารเคมีที่ไม่มีสีไม่มีกลิ่น เป็นสารพิษตกค้างจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ถูกระงับใช้ในปี ค.ศ. 1976 เพราะมีความเป็นพิษต่อมนุษย์อย่างมาก แต่ก็ยังตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกนานหลายปี ในที่สุดความเป็นพิษของ PCBs ก็จะสิ้นสุดที่ทะเล
สารปรอท เมื่อไปอยู่ในน้ำหรือน้ำทะเลจะถูกแบคทีเรียที่ก้นทะเลเปลี่ยนให้กลายเป็น เมททิลเมอคิวรี่ (methymercury) ซึ่งถูกใช้เป็นอาหารในห่วงโซ่อาหารชั้นล่างสุดเหมือนๆ กับแพลงตอน ปลาเล็กปลาน้อยก็จะมากิน จากนั้นปลาใหญ่ก็มากินปลาเล็กอีก คนก็กินปลาต่อไปก็ได้รับสารพิษจากปรอทโดยทั่วหน้ากัน
การปรุงอาหารให้สุกไม่สามารถทำให้พิษเหล่านี้สูญหายไปได้ PCBs สะสมอยู่ในชั้นไขมันของปลาและอาหารทะเลทั้งหลาย หากจะรับประทานปลาก็ต้องลอกหนังและชั้นไขมันออกเพื่อให้สารพิษออกไปเสียบ้าง แต่ก็ทำให้โอเมก้า-3 หรือน้ำมันปลาก็ถูกลอกออกไปด้วยเช่นกัน ส่วนสารปรอทไม่สามารถขจัดออกได้อย่างง่ายเช่นกัน จะต้องใช้ขบวนการที่เรียกว่า “โมเลกุลาดิสทิลเลชั่น (molecular distillation)” ที่อยู่ในขบวนการทำอาหารเสริมน้ำมันปลา ขบวนการนี้เป็นกรรมวิธีที่ทำภายใต้สุญญากาศ ที่อุณหภูมิต่ำมากและใช้เอ็นไซม์ที่จะเอาโลหะหนัก, ไวตามินบางชนิด และไขมันอิ่มตัวออกไป เหลือไว้แต่กรดไขมันจำเป็นโอเมก้า-3 ที่ต้องการ

อ้างอิง : Joseph C. Maroon, M.D. and Jeffrey Bost, P.A.C. Fish oil the natural anti-inflammatory, Basic Health Publications, Inc.2006

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น